<< ยินดีต้อนรับสู่สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่เจ้า!!^-^ >>

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ถนนคนเดิน


           ถนนคนเดิน เป็นหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและการกำหนดใช้พื้นที่เมืองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ซึ่งในหลายประเทศได้กลายเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งรวมงานศิลปะ วรรณศิลป์ จิตรกรรม ฯลฯ ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยงต่างชาติจะต้องแวะมาเยี่ยมเยือนถนนคนเดินในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกที่ถนนสีลม เป็นต้นแบบของ "โครงการถนนคนเดินในประเทศไทย" เป็นเวลา 7 สัปดาห์ จากการตอบรับถนนคนเดินที่สีลม ทำให้รัฐบาลเห็นว่ารูปแบบกิจกรรม "ถนนคนเดิน" นอกเหนือจากจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเมือง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ในภูมิภาค ดังเช่น จังหวัดเชียงใหม่ ยังสามารถปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมใน "ถนนคนเดิน" ให้สอดรับกับความต้องการท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมทั้งในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับคนในเมืองใหญ่นั้นๆ  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เทศบาลเชียงใหม่จะปิดถนนส่วนหนึ่งในเชียงใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านนำสินค้าหัตถกรรมมาวางขายกันบนถนน ถนนคนเดินในจังหวัดเชียงใหม่มีหลายแห่ง ส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าที่ระลึก เสื้อผ้า อาหาร และสินค้าพื้นเมือง
ถนนคนเดินวันเสาร์ (ถนนคนเดินวัวลาย)  อยู่ที่ถนนวัวลาย ใกล้กับประตูเมืองเชียงใหม่ เปิดเฉพาะวันเสาร์ เวลาประมาณ 17.00 - 22.00 น. พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในบริเวณถนนวัวลาย จึงมีขนาดเล็กกว่าถนนคนเดินท่าแพ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านทำ เครื่องเงิน ซึ่งทั้งผลิตและจำหน่ายสินค้าจำพวกเครื่องเงิน นอกจากนี้ยังมีสินค้า พื้นเมืองมากมายให้ เลือกสรร
ถนนคนเดินวันอาทิตย์ (ถนนคนเดินท่าแพ)
อยู่บนถนนราชดำเนินและถนนพระปกเกล้า ซึ่งตัดกันเป็นรูปกากบาทอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ที่มีคูเมืองล้อมรอบ เริ่มจากประตูท่าแพต่อไปยังถนนราชดำเนิน (อยู่หลังประตูท่าแพ) ยาวไปถึงวัดพระสิงห์ ระหว่างทางจะมีถนนพระปกเกล้าตัดเป็นรูปกากบาทบริเวณสี่แยกกลางเวียง เป็นถนนคนเดินที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุด ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ   ถนนคนเดินที่นี่เปิดเฉพาะวันอาทิตย์ เวลาประมาณ 17.00 - 22.00 น. เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ มีสินค้าให้เลือกสรรมากมายหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น สินค้าพื้นเมือง จำพวกเครื่องประดับตกแต่ง เสื้อผ้า ของที่ระลึก กระเป๋า ผ้าพันคอ โคมไฟ ฯลฯ หรือจะเป็นสินค้าแฟชั่นก็มีให้เห็นอยู่โดยทั่วไป รวมทั้งของกิน เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว/น้ำยา ของทานเล่น โรตี ฯลฯ   ระหว่างทางยังมีวัดที่อยู่ในบริเวณถนนคนเดินให้แวะชม ได้แก่ วัดพันอ้น วัดสำเภา วัดพันเตา วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงค์ และวัดอื่นๆ ภายในวัดจะประดับประดาไฟสวยงาม และจัดให้มีการขายของในบริเวณวัดได้ นอกจากนี้ถนนคนเดินตามทางจะมีซุ้มนวดแผนโบราณ ซุ้มรับวาดภาพเหมือน การแสดงดนตรีสด การแสดงทางวัฒนธรรม และการแสดงเปิดหมวดต่างๆ เช่น หุ่นนิ่ง เป็นต้น

เวลาทำการ
ถนนคนเดินวันเสาร์ (ถนนคนเดินวัวลาย)    เปิดเฉพาะวันเสาร์ เวลา ประมาณ 17.00 - 22.00 น.
ถนนคนเดินวันอาทิตย์ (ถนนคนเดินท่าแพ)    เปิดเฉพาะวันอาทิตย์ เวลา ประมาณ 17.00 - 22.00 น.

ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม     
ไม่เสียค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ถนนคนเดินเชียงใหม่
โทรศัพท์: 053-248-604, 053-248-607
แหล่งข้อมูลอ้างอิง: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, chiangmaiwalkingstreet.com, chiangmai-guideline.com, และแผนที่จาก guidechiangmai.net

สวนพฤกษศาสตร์


สวนพฤกษศาสตร์ ก่อตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์และสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อสพ.) ได้รับการก่อตั้งตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 โดยบุคคลที่ได้ชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์และสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม องค์การสวนพฤกษศาสตร์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาจนถึงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2545 จึงได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า "สวนพฤกษศาสตร์แม่สา" เป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่กรมป่าไม้จัดตั้งขึ้นให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ประจำภาคเหนือของประเทศไทย หลังจากที่ได้มีการสถาปนาองค์การสวนพฤกษศาสตร์ขึ้น สวนพฤกษศาสตร์แม่สาก็ได้รับการโอนย้ายมาสังกัด อ.ส.พ. และได้รับการวางแผนและพัฒนาให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับสากลแห่งแรกของประเทศ มีการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรพืช ศึกษาวิจัย และเผยแพร่ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์   ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้ใช้ชื่อสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ว่า "สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์"
เวลาทำการ    เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30 - 17.00 น.
ค่าธรรมเนียม/ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่ 40 บาท
นักเรียน นักศึกษา 10 บาท
ผู้สูงอายุเกิน 60 บาท เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี พระภิกษุสามเณร และผู้พิการ ไม่เสียค่าเข้าชม
รถยนต์ 4 ล้อ คันละ 100 บาท
รถบัส คันละ 200 บาท
ค่ารถบริการนำชมสวน
ผู้ใหญ่ 30 บาท
เด็ก 10 บาท
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
องค์การสวนพฤกษศาสตร์ และสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ที่อยู่:100 หมู่ 9 ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
โทรศัพท์: 053-841-000
โทรสาร: 053-299-754
อีเมล์: bgo@qsbg.org





ปางช้าแม่สา

       
             ปางช้างแม่สา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 นับเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว โดย คุณชูชาติ กัลมาพิจิตร ซึ่งเห็นคุณค่าในความฉลาดและความสามารถของช้าง และต้องการอนุรักษ์ช้างไทย จึงได้ก่อตั้งปางช้างแม่สาขึ้นในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ที่อยู่ติดกับลำน้ำแม่สาในเขตหุบเขาแม่สา และทำการซื้อช้างจากที่ต่างๆ มาเพื่อทำการฝึกและพัฒนาทักษะต่างๆ  โดยมีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความสามารถและความน่ารักของช้างเหล่านี้ให้แก่นักท่องเที่ยว และหวังว่านักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะเกิดความรักและตระหนักในคุณค่าของช้างไทย   นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวปางช้างแม่สาจะได้รับชมการแสดงจากเหล่าช้างที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี อาทิ การแสดงเดินพาเหรดต้อนรับ การแสดงความสามารถทางดนตรีของบรรดาช้างน้อย การเต้นตามจังหวะเพลง ช้างเล่นฟุตบอล ช้างนวดควาญ ช้างทำการแหนบไม้ ชักลากไม้ซุงในรูปแบบต่างๆ และการแสดงอื่นๆ อีกมากมาย             ชมช้างวาดภาพ และการแสดงผลงานภาพวาดจากช้าง ชมภาพแห่งประวัติศาสตร์ที่วาดขึ้นโดยศิลปินช้างจำนวน 8 เชือก เพื่อบันทึกสถิติโลกของกินเนสส์ ภาพวาดนี้มีชื่อว่า "ลมหนาว สายหมอกเสน่หาแห่งล้านนา หมายเลข 1" มีขนาดสูง 2.4 เมตร ยาว 6 เมตร

ปางช้างแม่สา มีการจัดกิจกรรมและการแสดงพิเศษในวันสำคัญหรือเทศกาลต่างๆ เช่น วันเด็ก, วันช้างไทย (13 มีนาคม), วันสงกรานต์ (13-15 เมษายน)

ของฝาก/ของที่ระลึก
          ภายในมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก ได้แก่ แก้ว ตุ๊กตารูปช้าง เสื้อยืดลายช้าง กระดาษมูลช้าง และสินค้าที่มีภาพวาดจากฝีมือช้าง เป็นต้น

เวลาทำการ
      เปิดให้บริการทุกวัน
             การแสดงช้างวันละ 3 รอบ เวลา  8.00 น. / 9.40 น. / 13.30 น.
             บริการนั่งช้าง  เวลา 7.00 - 14.30 น.
             หอนิทรรศการศิลปะปางช้างแม่สา เวลา 8.30 - 14.30 น.
ค่าธรรมเนียม/ค่าเข้าชม
             ผู้ใหญ่ 120 บาท
             เด็ก 80 บาท
ค่าบริการนั่งช้าง           
            นั่งช้างชมธรรมชาติ 30 นาที (สำหรับ 2 ท่าน) 800 บาท / เชือก
            นั่งช้างชมธรรมชาติ 1 ชั่วโมง (สำหรับ 2 ท่าน) 1,200 บาท /เชือก
            นั่งช้างชมธรรมชาติไป บ้านโต้งหลวง หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศน์ (สำหรับ 2 ท่าน) 3,000 บาท /เชือก
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
ปางช้างแม่สา (สำนักงานในเมือง)
ที่อยู่: 119/9 ถ.ท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทรศัพท์: 053-206-247, 053-206-248
โทรสาร: 053-206-247
อีเมล์: maesaele@
loxinfo.co.th

เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี



เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (Chiang Mai Night Safari) เป็นสวนสนุกบนพื้นฐานธรรมชาติ  (Nature Theme Park) ของรัฐบาลที่สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ จังหวัดเชียงใหม่นอกเหนือจากศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี และความสวยงามตามธรรมชาติของป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งถือเป็นมนต์เสน่ห์ที่สำคัญยิ่ง ของจังหวัดเชียงใหม่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง การท่องเที่ยวในภูมิภาคอินโดจีน และประเทศจีนตอนล่าง รวมถึงบางประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ พร้อมกับการยกระดับสนามบินจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นสนามบินนานาชาติ ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ หลั่งไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวเหล่านี้จะได้ใช้เวลาว่างยามค่ำคืนในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีให้ เป็นประโยชน์ในการสร้างความรื่นเริง หรรษา พักผ่อนหย่อนใจเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า นำไปสู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ทั้งด้านคุณภาพและความหลากหลาย

ราคาบัตรและข้อมูลต่างๆของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีกลางวัน ( จากัวร์เทรล ) วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 13.00 - 22.30 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 10.00 - 22.30 น. ผู้ใหญ่ราคา   50 บาท     
เด็ก มีความสูงระหว่าง
100 - 140 ซม.ราคา 1
25 บาท
กลางคืน  ( จากัวร์เทรล เพร็ดดิเตอร์พราว ซาวานาซาฟารี Musical Fountain with water screen)  ทุกวัน เวลา 18.00 - 24.00 น. บริการนั่งรถชมสัตว์ เวลา 19.00 - 22.30 น.  (รถลากพาชมสัตว์ ให้บริการ ทุก ๆ 15 นาที)  การแสดง Musical Fountain with water screen  ทุกวัน  เวลา 20.00 น. และ 21.15 น. ผู้ใหญ่ราคา  250 บาท เด็ก  มีความสูงระหว่าง 100 - 140 ซม. ราคา 125 บาท
**สิทธิพิเศษ เด็กที่มีความสูงต่ำกว่า 100 ซม. : เข้าชมฟรี ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป : ลด 50%     (พร้อมแสดงบัตร)

การซื้อบัตรและการจองบัตร
1. สามารถซื้อบัตรโดยตรงที่ตู้ขายบัตรหน้าเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
2. หากเป็นคณะบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป สามารถชำระผ่าน ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด สาขาสี่แยกสนามบิน ชื่อบัญชี อพท.(เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี)  เลขที่บัญชี 411-1สอบถามข้อมูลการจองบัตรได้ที่  โทร. 053-999050 แฟกซ์. 053-999009   

สำนักธุรกิจการตลาดและประชาสัมพันธ์  โทร. 053-999090 แฟกซ์ 053-999099 สำนักงานบริหารโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี โทร. 02-5954390, 02-9218771 แฟกซ์ 02-9218773

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

เทศกาลยี่เป็ง


เทศกาลยี่เป็ง เป็นเทศกาลใหญ่ เรียกการลอยกระทงว่า ลอยโขมด หรือ ลอยไฟ คำว่า ยี่เป็งหมายถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ในระยะหลังมีคำว่าลอยสะเปา ซึ่งหมายถึงการลอยสำเภา อันเป็นการลอยกระทงขนาดใหญ่ในงานประกวดกระทง การบูชาในพิธีลอยกระทงมี 2 อย่างคือ การลอยกระทงและการตามประทีป แต่ละบ้านจะตกแต่งบ้านด้วยโคมไฟหลากสี เรียกว่า กมผัดหมายถึงโคมที่หมุนไปมาได้มีการจุด ผางพะตี้บในบ้านและรอบๆบ้าน มีการจุดโคมลอยในเวลากลางวันและโคมไฟในเวลาค่ำคืน แล้วปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นการบูชาพระจุฬามณี บนสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีการจุดดอกไม้ไฟชนิดต่างๆ
การลอยกระทงความหมายคือ
1. การลอยเพื่อ บูชาท้าวพกาพรหม
2. การลอยเพื่อ ลอยเคราะห์ลอยบาป
3. การลอยเพื่อ ส่งสิ่งของ
4. การลอยเพื่อ บูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
5. การลอยเพื่อ บูชาอุบคุดด์เถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล

ประเพณีลอยกระทงทางภาคเหนือเรียก ประเพณียี่เป็ง ตรงกับเดือนยี่ ขึ้น 1415 ค่ำ ประเพณีลอยกระทงทางภาคเหนือนี้ ตามหนังสือพงสาวดารโยนก และหนังสือ จามเทวีวงศ์ กล่าวสอดคล้องเหมือนกันว่า  เมื่อจุลศักราชได้ 309 (พ.ศ. 1490) พระยาจุเลราชได้ครองราชสมบัติในนครหริภุญชัยสมัยนั้นได้เกิดโรคระบาดขึ้น ที่ตำนานเรียกว่า โรคหิว หรือ โรคห่า หรือ โรคอหิวาตกโรค ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บางพวกที่มีชีวิตอยู่เห็นว่าถ้าอยู่ต่อไปต้องตายแน่ จึงพากันอพยพไปอาศัยอยู่ในเมือง สุธรรมวดี คือเมืองสะเทิม ประเทศรามัญ หรือ มอญ ต่อมาพระเจ้าพุกาม กษัตริย์พม่าตีได้เมืองสะเทิม ได้เก็บเอากุลธิดาของชาวเมืองไปเป็นบาทบริจาริกาเป็นจำนวนมาก
เมื่อเบื่อหน่ายก็ทอดทิ้งไม่ชุบเลี้ยงเหมือนดั่งก่อน พวกชาวเมืองหริภุญชัยก็อพยพหนีไปอาศัยอยู่กับพระเจ้าหงสาวดี ซึ่งพระองค์ทรงให้ความอนุเคราะห์ ชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี หลังจากที่อาศัยอยู่ไม่นาน ชาวเมืองได้ทราบข่าวว่าโรคระบาดทางนคร หริภุญชัยสงบแล้ว ก็คิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองก็พากันกลับมายังนครหริภุญชัยอีกครั้ง บางคนต่างก็แต่งงานมีครอบครัวก็ไม่กลับมายังนครหริภุญชัย
ยังคงอยู่ที่เดิม ในเมืองหงสา ครั้นถึงเดือนยี่เป็ง ที่ครบรอบที่ได้จากพี่น้องทางเมืองหงสามา ก็ได้จัดแต่งธูปเทียน เครื่องสักการะ บูชา อาหาร เสื้อผ้า วัตถุข้าวของ ใส่ในแพไหลล่องลอยตามแม่น้ำเพื่อเป็นการระลึกนึกถึงยังญาติพี่น้อง โดยคิดว่าสิ่งเหล่านั้นจะล่องลอยไปถึงญาติที่อยู่ในเมืองหงสาอันไกลโพ้น  การกระทำพิธีดังกล่าวเรียกกันว่า ลอยโขมด หรือลอยไฟ และถือเป็นประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน (การลอยกระทงนั้นในสมัยอาณาจักรล้านนาโบราณเรียกว่า ลอยโขมด คำว่าโขมดเป็นชื่อผีป่า เรียกกันว่าผีโขมด ชอบออกหากินเวลากลางคืน จะมีพะเนียงแสงไฟเห็นเป็นระยะคล้ายผีกระสือ ดังนั้น กระทงที่จุดเทียนลอยน้ำแสงไฟจะกระทบกับน้ำทำให้ เงาเกิดขึ้นสะท้อนวับๆแวมๆ จะเหมือนแสงไฟของผีโขมด ดังนั้นทางล้านนาโบราณ จึงเรียกการลอยกระทงว่า ลอยโขมด” )

ในสมัยอาณาจักรล้านนาไท พุทธศักราชได้ 2061 ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) แห่งราชวงศ์มังราย เทศกาลเดือนยี่เป็งเป็นประเพณี ที่ยิ่งใหญ่มาก อาณาประชาราษฎร์ต่างพากันไปบูชาพระเจ้าในอารามข่วงแก้วทั้งหลาย มากมายไปด้วยผู้คนหนุ่มสาว ผู้เฒ่า ผู้แก่ รื่นเริงม่วนเล่นมหรสพสมโภชคึกครื้น เป็นที่พึงพอใจอย่างยิ่ง ดังโคลงนิราศหริภุญชัยกล่าวไว้ถึงเดือนยี่เป็ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึง กวีในสมัยนั้นมีความนิยมชมชอบจึงได้นำมาสอดแทรกไว้ในนิราศของตน 



สวนสัตว์เชียงใหม่




           สวนสัตว์เชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นโดยนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่พวกทหารและตำรวจชายแดน ในช่วงสงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493 - 2496) โดยอาศัยพื้นที่บ้านที่ตนเช่าอยู่คือ บ้านเวฬุวัน เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นของนายกีและนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์  เปิดเป็นสวนสัตว์เล็กๆ ของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2495 โดยจ้างคนพื้นเมืองและชาวเขาจำนวนไม่มากช่วยกันดูแล   ต่อมานายฮาโรลด์ เมสัน ได้ติดต่อขอที่ดินป่าสงวนเชิงดอยสุเทพต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จนได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนเชิงดอยสุเทพประมาณ 60 ไร่ เป็นที่ตั้งสวนสัตว์ของเอกชน เปิดบริการให้เข้าชมตั้งแต่วันจักรี 6 เมษายน พ.ศ. 2500 จนกระทั่งนายฮาโรลด์ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2518   ในปี พ.ศ. 2520 สวนสัตว์จึงได้โอนเข้าสังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย สำนักนายกรัฐมนตรี และในปี พ.ศ. 2526 สวนสัตว์เชียงใหม่ยังได้ขยายพื้นที่จากเดิมอีก 500 ไร่ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาสวนสัตว์ เข้ามาดำเนินงานวางผังหลักกำหนดแนวทางพัฒนาให้แก่สวนสัตว์เชียงใหม่ต่อไปในอนาคต
ภายในสวนสัตว์มีสัตว์จำนวนมาก เช่น เม่น นกยูง เสือโคร่ง เสือขาว กวาง แรด ฮิปโปเตมัส ช้าง หมี อีเห็น มีส่วนจัดแสดงหมีแพนด้า ช่วงช่วง หลินฮุ่ย และหลินปิง จากประเทศจีนในสวนสัตว์เชียงใหม่มีศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (Chiangmai Zoo Aquarium) ครบวงจรแห่งแรกหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอุโมงค์ใต้น้ำขนาดยาวที่สุดในโลก รวบรวมปลาน้ำจืดแห่งลุ่มน้ำโขงและโลกใต้ทะเลเข้าไว้ด้วยกัน

ส่วนจัดแสดงและภูมิทัศน์ของสวนสัตว์เชียงใหม่มีความสวยงามอยู่ทั่วบริเวณ จุดที่น่าสนใจที่แนะนำให้ไปเที่ยวชม มีดังนี้
  • สัตว์แอฟริกา (African Animals Exhibit)
  • หมีแพนด้า (Panda Exhibit)
  • สโนวโดม (Snow Dome)
  • ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (Aquarium)
  • หมีโคอาล่า (Koala Exhibit)
  • แอ๊ดเวนเจอร์ ปาร์ค (Adventure Park)
  • อุรังอุตัง (Orange Utan Exhibit)
  • ไก่ฟ้า เกาะชะนี สัตว์เลื้อยคาน แรดอินเดีย
  • เพนกวิน และโชว์แมวน้ำ (Penguin Exhibit, Seal Show)
  • โชว์สัตว์แสนรู้ (Animals Show)
  • วัดกู่ดินขาว
เวลาการแสดงความสามารถสัตว์
วันจันทร์-ศุกร์  รอบเวลา 11.30  และ 15.00 น.
เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รอบเวลา 11.30,  14.00 และ 15.30 น.
เวลาการแสดงโชว์แมวน้ำ  
วันจันทร์-ศุกร์ รอบ เวลา 10.30 และ 14.30 น.
เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รอบเวลา 10.30, 13:30 และ 15.00 น.

เวลาทำการ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 8.00 น. - 17.00 น.

ค่าธรรมเนียมค่าเข้าชม
ค่าบัตรผ่านประตูเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่       
        เด็ก 10 บาท
        ผู้ใหญ่ 50 บาท
ค่าบัตรผ่านประตูเข้าชมศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำเชียงใหม่       
       เด็ก 180 บาท
       ผู้ใหญ่ 250 บาท
ค่าบัตรเข้าชมหมีแพนด้า       
       เด็ก 20 บาท
       ผู้ใหญ่ 50 บาท
หากต้องการความเพลิดเพลินในการชมสัตว์ป่า นานาชนิด ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่  สามารถใช้บริการรถรางของสวนสัตว์เชียงใหม่ ณ สถานีแพนด้า ราคา 20 บาท หรือบริการรถไฟฟ้าโมโนเรลสถานที่ 5 ณ โซนแอฟริกา ราคา 70 บาท

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
สวนสัตว์เชียงใหม่ที่อยู่: เลขที่ 100 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์: 053-221-179
โทรสาร: 053-222-283
อีเมล์: cmzooinfocenter@yahoo.com
สำนักงานกรุงเทพโทรศัพท์: 02-930-4807-8
โทรสาร: 02-930-4806

หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่

         
           เป็นอาคารเก่าแก่ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมอันงดงามสร้างเมื่อ ปี 2467 เคยใช้เป็นหอคำ ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ อาคารตั้งอยู่บริเวณสะดือเมืองในอดีต ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของ เสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ก่อนที่ จะย้ายไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าการวิโรรสสุริยวงศ์ ถึงเจ้าเทพไกรสรพระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 ผู้ใช้หอคำซึ่งอยู่ในบริเวณคุ้มกลางเวียง เป็นศูนย์กลาง การบริหารนครเชียงใหม่ เมื่อเจ้าอิทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นของเจ้าดารารัศมี พระธิดา ต่อมาเมื่อ จัดการปฏิรูป การปกครองตามระบบเทศาภิบาลเจ้าดารารัศมีจึงใช้คุ้มกลางเวียงแห่งนี้เป็นศาลารัฐบาลหรือที่ทำการรัฐบาล
ต่อมาเมื่อจังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางหลังใหม่ บนถนนโชตนาเป็นศูนย์ราชการจังหวัด และได้ย้ายหน่วยงาน ออกหมดในปี 2539 อาคารหลังนี้จึงถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าไป ใช้ประโยชน์จนถึงปลายปี 2540 เทศบาล นครเชียงใหม่ได้ขอปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี 2542 ประเภทที่ทำการอาคาร สาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์
เชียงใหม่นอกจากจะเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติอันงดงามจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ในอดีตนครแห่งนี้เคย เป็น ศูนย์กลางในทุกๆ ด้านของอาณาจักรล้านนาทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา และวรรณกรรม แต่ที่ผ่านมายังขาดแหล่งที่เป็นศูนย์กลางให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้ ลูกหลานชาวเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวตลอดจนผู้สนใจได้ศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้องและครอบคลุมในทุกด้าน

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
             จึงเกิดขึ้น เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้รากเหง้าของตนเองและบ้านเมือง รู้จักวิถีชีวิต ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองอันจะสร้างความภาคภูมิใจ และ จิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงานให้คงอยู่สิบไป นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ ในเขตเมืองเก่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจ นครเชียงใหม่ตลอดจนผู้คนในท้องถิ่น อันเป็นหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้จัดแบ่งพื้นที่อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร อาคารด้านหลังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม นิทรรศการหมุนเวียน ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ห้องนิทรรศการศิลปกรรมล้านนา ห้องสารสนเทศ และห้องภัณฑารักษ์
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ชนะการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย  ครั้งที่  6 ประจำปี 2549 ( The 6th Thailand Tourism Awards 2006 )  จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งหอศิลป- วัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้เข้าร่วม การประกวดเป็นปีแรก และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของภาคเหนือประเภท แหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม  เมื่อวันที่  27  กันยายน  2549



หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้รับรางวัล ASEANTA Excellence Awards 2007 ครั้งที่ 21 ได้รับรางวัลประเภท Bast ASEAN Cultural Preservation Effort จัดโดย สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Association – ASEANTA)

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์" ขึ้น ในปีพ.ศ. 2504 และพระราชทานนามตามที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งเป็นที่ พระศาสนโสภณ เป็นผู้คิดชื่อถวาย โดยทรงเลือกจาก 1 ใน 2 ชื่อ คือ พิงคัมพรกับ ภูพิงคราชนิเวศน์การก่อสร้างพระตำหนักใช้เวลา 5 เดือน จึงแล้วเสร็จ การออกแบบเป็นแบบไทยประยุกต์ ดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้แบบสากลมากขึ้น
พระตำหนักแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรม ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงงานและเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ รวมทั้งเพื่อรับรองพระราชอาคันตุกะ ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในโอกาสต่างๆ การที่ทรงเลือกสร้างที่จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีอากาศเย็นสบาย ภูมิประเทศสวยงาม อีกทั้งเคยเป็นเมืองหลวงมาก่อน ผู้คนพลเมืองยังดำรงรักษาจารีตขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามไว้
พระตำหนักแห่งนี้ได้ใช้ในการรับรองพระราชอาคันตุกะเป็นครั้งแรกคือ สมเด็จพระเจ้าเฟรดเดริคที่ 9 และ สมเด็จพระราชินีอินกริด แห่งเดนมาร์ก เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2502 หลังจากนั้นก็มีประมุขของประเทศต่างๆ เป็นพระราชอาคันตุกะ มาประทับและพักที่พระตำหนักภูพิงค์ฯ ในเวลาต่อมาอีกหลายประเทศ เช่น สมเด็จพระนางเจ้าจูเลียน่า และเจ้าชายเบอร์ฮาร์ท จากประเทศเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง และพระราชินีฟาบิโอล่า แห่งประเทศเบลเยี่ยม ฯลฯ เป็นต้น ส่วนตัวอาคารอื่นๆ ได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง

เส้นทางเที่ยวชมพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

เวลาทำการ
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30 – 16.30 น.
เวลาจำหน่ายบัตร 08.30 – 11.30 น., 13.00 - 15.30 น.
*งดการเข้าชมในระหว่างเสด็จแปรพระราชฐาน เดือนมกราคม-ต้นเดือนมีนาคม
**กรุณาแต่งกายสุภาพ ห้ามใส่กางเกงขาสั้น, กระโปรงสั้น, เสื้อแขนกุด

ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม
ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่ 20 บาท
เด็กนักเรียน 10 บาท
ชาวต่างชาติ 50 บาท
มีบริการรถไฟฟ้านำเที่ยว (บริษัทเอกชน) ค่าบริการ 300 บาท/คัน (นั่งได้ไม่เกิน 3 ท่าน

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
โทรศัพท์: 053-223-065
อีเมล์: info@bhubingpalace.org
ข้อแนะนำเมื่อเข้าชมพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
  • ห้ามส่งเสียงดังหรือก่อความไม่สงบในลักษณะใดๆ
  • ห้ามเข้าแปลงดอกไม้และสนามหญ้า, ห้ามเด็ดดอกไม้
  • ห้ามพกพาอาวุธทุกชนิด
  • ห้ามนำสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าโดยเด็ดขาด
  • โปรดแต่งกายให้เหมาะสม ห้ามสวมกางเกงขาสั้น, เสื้อกล้ามและเสื้อแขนกุด
**มีบริการเช่าผ้าด้านใน ก่อนเข้าชมบริเวณพระตำหนัก
เสื้อ 20 บาท
ผ้าถุง 20 บาท
กางเกง 10 บาท


อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์


อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นยอดเขาสูงสุดของประเทศ อากาศบนยอดดอยหนาวเย็นประดุจดังอยู่ในเมืองหนาว ยามฤดูหนาวหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม บรรยากาศดังกล่าวไม่อาจหาได้ในส่วนอื่นของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณ อ่างกาหลวง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นจุดที่สามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันชวนหลงใหลของป่าดิบเขาได้ง่ายที่สุด    ภายในจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 300 เมตร โดยใช้สะพานไม้ทั้งหมด เพื่อป้องกันมิให้เหยียบย่ำธรรมชาติอันเปราะบางเสียหาย เส้นทางจะวนกลับมา ณ จุดเริ่มต้น มีป้ายให้ความรู้เรื่องธรรมชาติตลอดเส้นทาง บรรยากาศในอ่างกาหลวงปกคลุมด้วยเมฆที่ลอยพัดผ่านเข้ามาตลอดเวลา อากาศจึงชื้นและเต็มไปด้วยละอองน้ำ ทำให้ต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขามีมอสและเฟินขึ้นหุ้มเต็มต้นจนแลดูราวกับป่าในยุคดึกดำบรรพ์    จุดเด่นของเส้นทางนี้ ได้แก่ ต้นกุหลาบพันปีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ กุหลาบพันปีจะบานอวดดอกสีแดงสดดึงดูดให้นกมากินน้ำหวานและช่วยผสมเกสร เช่น นกกินปลีหางยาวเขียว นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้าฯลฯ ส่วนตามโคนต้นกุหลาบพันปีมีข้าวตอกฤาษีขึ้นปกคลุมราวกับพรมธรรมชาติ ข้าวตอกฤาษีเป็นมอสชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียวสลับส้มกับสีน้ำตาลอ่อนๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมาก และอากาศหนาวเย็นเท่านั้น    นอกจากนี้ในอ่างกาหลวงยังมีพรุน้ำจืดที่อยู่สูงที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นหายากบางชนิด และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงจำนวนมากซึ่งสามารถพบเห็นได้ค่อนข้างง่าย เช่น นกศิวะหางสีตาล นกอีแพรดท้องเหลือง นกกะรางหัวแดง นกจับแมลงหน้าผากขาว ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพย้ายถิ่นนานาชนิดบินมาอาศัย ทำให้ดอยอินทนนท์เป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ บริเวณจุดสูงสุดบนยอดดอยอินทนนท์นี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระสถูปของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้เป็นที่มาของชื่อดอยอินทนนท์แห่งนี้อีกด้วย


วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

 
            วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์และเป็นวัดท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวไทยโดยทั่วไป ใฐานะที่เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากวัดหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,053 เมตร อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  องค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า ดอยสุเทพ แต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า เทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่า ดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพ โดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจาอยู่หัวฯ) ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมาก เสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล  ในสมัยก่อน การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกิน เพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง 5ชั่วโมงกว่า จนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ในปี พ.ศ.2477 (ค.ศ.1934) ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย มาจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น เป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบเป็นปฐมฤกษ์ ตรงที่หน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ปัจจุบัน ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว โดยเริ่มสร้างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477

บันใดนาค เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้านของบันใดนาค ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นใด นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรก มักจะเดิน ขึ้นหรือเดินลงบันใดนาคเสมอ แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินลง ส่วนตอนขึ้นนั้นมักจะขึ้นทางลิฟท์หรือรถรางไฟฟ้า

รถรางไฟฟ้า ได้นำมาใช้บริการประชาชนผู้สูงอายุมานานกว่า 10 ปี ตอนแรกๆ ก็ใช้เพียงขนของสัมภาระขึ้น-ลงพระธาตุเท่านั้น ต่อมาภายหลังได้ทำการปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ดีขึ้น จึงให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีอายุการใช้งานรถรางไฟฟ้านานมากแล้ว ทางวัดจึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาครั้งใหญ่เพื่อจะนำมาเสริมสร้างบริการที่ดี และปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วยความมั่นใจยิ่ง